มันเทศเป็นพืชหัวเกรียนใต้ดินเถาเลื้อยราบไปบนพื้นดินปลูกเป็นพืชไร่ มีเนื้อสีหลายสีตามสายพันธุ์ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เถา ใบ หัว นิยมนำมารับประทานโดยต้มหรือ เผา ทำเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนผสมของอาหารสำหรับเด็กใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
ฤดูกาลเพาะปลูก : ฤดูปลูกมันเทศสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีมันเทศจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศค่อนข้างร้อน และเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี มันเทศต้องการน้ำช่วงระยะเวลาแตกยอดและใบ ก็เพียงพอหากทอดและแตกใบโตเต็มที่แล้ว หากไม่ให้น้ำหรือฝนไม่ตก มันเทศก็ไม่เฉา และจะลงหัวการปลูกในฤดูแล้งให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกในฤดูฝน และอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่า 1 เดือน
การเลือกที่และการเตรียมดินปลูกมันเทศ
1.ถ้าเป็นที่นาควรเลือกที่สูง และระบายน้ำได้ดี
2.ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรปลูกมันเทศมาก่อนหากมีความจำเป็นต้องปลูกซ้ำที่เดิม ต้องใช้ทำการกำจัดแมลงในดินก่อน
3.สำหรับที่ดอนและที่ราบทั่วๆ ไปนั้น ส่วนใหญ่จะปลูกได้เฉพาะฤดูฝนส่วนที่ซึ่งอยู่ในเขตการชลประทานสามารถจะปลูกมันเทศได้ตลอดปี
4.การเตรียมดินควรไถให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร
5.ตากดินไว้ 7-10 วัน และพรวนดิน 1-2 ครั้งเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินมีสภาพร่วนซุย แล้วจึงปรับระดับเนื้อที่ปลูกให้เรียบสม่ำเสมอกัน ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก จากนั้นจึงพรวนดินเพื่อให้คลุกเคล้าเข้ากัน
6.เมื่อเตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ยกร่องห่างกัน 75-100 ซม. ยกร่องรูปสามเหลี่ยมขึ้นมา และทำการปลูกบนสันร่องนั้นๆ
การเตรียมพันธุ์ปลูก การใช้ลำต้นหรือเถาปลูก ส่วนใหญ่ใช้ลำต้นที่แก่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว โดยตัดเถาให้ยาวประมาณ
25-30 เซนติเมตร หรือมีข้อประมาณ 6-8 ข้อ การใช้เถานี้นิยมใช้ส่วนยอดมากกว่าส่วนอื่นๆ เพราะเจริญเติบโตและออกรากรวดเร็ว และไม่เป็นที่อาศัยของแมลงปีกแข็งที่จะทำให้หัวมันเทศอาจมีไข่/ตัวอ่อนแมลงอาศัยอยู่ได้
การปลูก ปลูกทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นดิน โดยใช้จอบสับบนสันร่อง วางเถาบนรอยสับ ทำมุมประมาณ 45 องศา ให้ส่วนปลายโผล่เหนือดิน 3-4 ใบ
การให้น้ำ ถ้าปลูกฤดูฝน การให้น้ำเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นแต่ต้องระวังเรื่องการระบายน้ำโดยอย่าให้น้ำท่วม และขังอยู่ ถ้าหากปลูกในฤดูแล้ง การให้น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นระยะแรก 10-15 วันต่อครั้งและระยะหลัง 20-30 วันต่อครั้ง โดยทำการปล่อยให้น้ำไหลเอ่อเข้าตามร่องในแปลงปลูก โดยให้ระดับน้ำสูง 2 ใน 3 ของร่อง ปล่อยน้ำทิ้งไว้ในร่องสัก 1 คืนรีบระบายออกทิ้งเสีย
การพรวนดินและกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช จะต้องกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากเนื้อที่ปลูกมีขนาดเล็ก หลังจากกำจัดวัชพืชแล้วควรพูนโคนด้วย ถ้าหากเนื้อที่มีขนาดใหญ่ก็สามารถกระทำได้โดยไถผ่านระหว่างแถว การกระทำเช่นนี้จะทำได้หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ลงในแปลงหลังไถตากดินไว้และพรวนหรือคราดกลบ
การตัดแต่งและกลบเถามันเทศ เมื่อมันเทศเจริญเติบโต (อายุ 2 ถึง 2 เดือนหลังปลูก) มันจะทอดยอดออกไปนอกแปลง ทำให้ข้อติดกับดินเกิดรากหยั่งลงดินและเกิดหัวได้ ทำให้หัวที่เกิดจากส่วนที่เกิดจากส่วนที่ฝั่งดินอยู่ก่อนแล้ว เจริญเติบโตไม่เต็มที่ ควรมีการตอนหรือตัดออกเสียบ้าง แล้วตลบเถาที่ทอดยอดออกไปนั้นไว้บนหลังแปลงเสีย
การเก็บเกี่ยว เมื่อมันเทศลงหัวหรือครบอายุการเก็บเกี่ยวแล้ว ต้องรีบเก็บเกี่ยวทันทีหากทิ้งไว้ในแปลงนานๆ จะถูกแมลงในดินเข้าทำลายเสียหายได้ การที่จะทราบว่าหัวมันเทศพอที่จะเก็บเกี่ยวได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1.โดยดูจากดินบริเวณโคนต้นจะแตกแยกอกเป็นร่อง
2.สุ่มขุดขึ้นมาดูประมาณ2-3ต้นและใช้มีดตัดหัวมันเทศดู ถ้าแก่จะมียางไหลซึมออกมาตรงบริเวณรอย ตัด และจะแห้งไปอย่างรวดเร็ว
3.อายุการเก็บเกี่ยวแต่ละพันธุ์ ปกติจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในอายุประมาณ 90-150 วันหลังปลูก
วิธีการเก็บเกี่ยว เครื่องมือที่ใช้เก็บเกี่ยว(ขุด)ได้ผลดีนั้นก็คือ จอบ เสียม โดยระวังอย่าให้หัวมันเทศเป็นแผล แตกหรือช้ำได้เพราะจะทำให้ราคาตก และเก็บไว้ได้ไม่นาน ก่อนเก็บเกี่ยว(ขุด) ควรตัดเถา และใบมันเทศออกไปก่อนเพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว และเปอร์เซ็นต์การสูญเสียก็จะลดลง