การปลูกข้าว เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม สันนิษฐานว่าเริ่มจากการที่มนุษย์รู้จักสังเกตการเจริญเติบโตของข้าวในธรรมชาติ ต่อมาจึงนำเมล็ดข้าวที่ได้มาเพาะปลูกใกล้บริเวณที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบการปลูกข้าวด้วยวิธีการปักดำมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และพัฒนาวิธีการปลูกเรื่อยมาตามลำดับ จนปัจจุบันมีวิธีการปลูกข้าวที่หลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ
การทำนาในจนถึงปัจจุบัน วิถีการทำนาของคนไทยมีพัฒนาการมาตามลำดับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎว่ามีการทำนาหลากหลายวิธี และบางวิธีก็ยังคงใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การทำนาไร่เป็นวิธีการปลูกข้าวแบบดัง้เดิมบนเขา หรือตามป่าดงโดยอาศัยน้ำฝนมีขั้นตอนเหมือนการปลูกข้าวไร่ในปัจจุบันตั้งแต่การเลือกพื้นที่ตามที่ลาดเชิงเขา หรือป่าดงซึ้นพื้นดินมีอินทรียวัตถุที่เกิดจากการทับถมของใบไม้และซากพืช จึงทำหลุมและหยอดเมล็ดข้าวลงในดินก่อนที่ฤดูฝนมาถึง ใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวได้พอดีกับสิ้นฤดูชาวไร่จะเก็บรักษาข้าวที่ได้ไว้บริโภคในครัวเรือน เมื่อปลูกต่อเนื่องจะทำให้ดินจืดชาวไร่ส่วนมากจึงใช้พื้นที่ปลูกข้าวเพียง 23 ปี และหาพื้นที่ปลูกใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการทำไร่เลื่อนลอยในปัจจุบัน
การทำนาน้ำฝน เป็นวิธีการทำนาในที่ดอนและที่ราบโดยอาศัยน้ำฝนเช่นเดียวกับการทำนาไร่ เริ่มจากการตัดโค่นต้นไม้และขุดรากไม้ออกจากนั้นจึงทำคันนาโดยแบ่งพื้นที่เป็นแปลงๆ สำหรับกักเก็บน้ำฝนไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าว เตรียมดินโดยการไถและคราดหากพื้นที่นั้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ลำห้วย หรือลำธารชาวนาจะทำลำรางเพื่อระบายน้ำเข้านาถ้าพื้นที่อยู่ใกล้ลำน้ำใหญ่มีน้ำไหลตลอดปี เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วชาวนาจะปลูกข้าวอีกครั้งหนึ่งโดยทดน้ำเข้านา การทำนาครั้งที่สองเรียกว่า การทำนาปรัง
การทำนาเมือง เป็นการทำนาอาศัยน้ำฝนในที่ราบลุ่มที่อาจจะประสบสภาพน้ำท่วมได้ การปลูกจะใช้การหว่านข้าวและมีขั้นตอนคล้ายคลึงกลับกับวิธีการปลูกข้าวนาน้ำลึกและข้าวขึ้นน้ำในปัจจุบันโดยเตรียมดินเมื่อเข้าฤดูฝนเมื่อนาได้รับน้ำฝนเพียงพอดินอ่อนตัว จึงไถและหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงในนาพันธุ์ข้าวที่ใช้ทำนาเมืองเป็นพันธุ์ข้าวที่เจริญเติบโตเร็ว
ยืดตัวได้เร็วทันน้ำมีทั้งพันธุ์ข้าวที่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่น้ำลึกประมาณ 11.5 เมตร และพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่น้ำลึกถึง 45 เมตร นอกจากพันธุ์ข้าวนาน้ำลึกจะมีระบบรากเหมือนพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกทั่วไปแล้ว ยังมีรากออกตามข้อและปล้องตลอดขึ้นไปจนถึงผิวน้ำ
การทำนาเชิงเลนหรือนาน้ำลด เป็นนาที่ทำกันตามชายฝั่งแม่น้ำหรือริมคลอง ซึ่งเป็นที่ลาดลุ่ม มีกระแสน้ำขึ้นลงชาวนาจะเป็นแปลงมีคันนาสูงพ้นน้ำเพื่อกันน้ำท่วม นาเชิงเลนจัดเป็นนาชั้นดีที่สามารถควบคุมน้ำได้และทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงเพราะได้รับตะกอนที่ไหลปนมากับน้ำ
การทำนาสวนนาดำหรือนาปัก เป็นการทำนาในร่องสวน หรือในไร่นาที่ปลูกไม้ล้มลุกหรือพืชผักวีปลูกจะใช้วิธีปักดำจากต้นกล้าที่เตรียมไว้ ข้าวที่ได้จากการทำนาสวนจัดเป็นข้าวชั้นดี เพราะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอและเนื่องจากมีพื้นที่ปลูกไม่มากนักจึงได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เมื่อข้าวสุก สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเวลาคุณภาพข้าวดีมากจึงซื้อขายกันในราคาสูง
การทำนาน้ำตมหรือเพาะเลย เป็นการทำนาหว่านแบบข้าวนาเมือง โดยใช้วิธีการแช่งข้าวให้งอกก่อนเหมือนที่ใช้หว่านกล้าเพราะใช้วิธีหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวยไม่ทัน เนื่องจากพื้นที่มีฝนตกชุกดินเปียกแฉะเกินไป หลังจากเตรียมดินโดยไถครั้งหนึ่งหรือ 2 ครั้งแล้วจึงหว่านเมล็ดข้าวที่งอกลงไป ในอดีตวิธีนี้มักไม่ได้ผลผลิตที่ดีเพราะถ้าดินแห้งหลังจากหว่านข้าวจะทำให้ข้าวที่งอกตายได้ง่าย และถ้าน้ำมาเร็วและลมแรงต้นข้าวก็จะหลุดลอยได้เนื่องจากรากข้าวยังไม่เกาะดิน
การทำนาน้ำใส เป็นการปลูกข้าวโดยวิธีหว่านอีกวิธีหนึ่ง เมื่อน้ำเข้านาเร็ว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.5 เมตรหรือสูงกว่านี้ จะไม่สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งได้ วิธีการที่จะให้เมล็ดข้าวที่หว่านในน้ำลึกงอกดีจะต้องปล่อยให้น้ำใสเสียก่อนถ้าน้ำขุ่นเมล็ดข้าวที่จมอยู่ใต้น้ำไม่ได้รับแสงแดดจะไม่แตกใบหรือเมื่อแตกใบแล้วอาจมีโคลนตมจับทำให้ข้าวเน่าตาย การทำนาน้ำใสจะแบ่งแปลงนาเป็นแปลงขนาดเล็กโดยใช้คันดินกั้นเพื่อไม่ให้ต้นข้าวอ่อนหลุดลอบไปเมื่อมีลมพัดชาวนาบางรายใช้วิธีหว่านแบบน้ำขุ่น เพื่อให้โคลนตมจับเมล็ดข้าวทำให้รากข้าวหยั่งลึกเกาะดินได้ดี วิธีการหว่านข้าวทั้งในน้ำใสและน้ำขุ่นนี้ชาวนาจะทำต่อเมื่อจำเป็นและไม่หังผลมากนัก